วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อ่านก่อนเทรด



สิ่งที่ต้องมี

1. เครื่องพิวเตอร์ พร้อมใช้งาน
2. Internet
3. เงิน
4. ใจ

สิ่งที่ต้องทำ

1. ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ Forex ให้ถี่ถ้วน
2. อ่านเทคนิคและวิธีการทำกำไร
3. เปิดบัญชี Broker Forex

หลักการโดยทั่วไปให้การเทรดฟอเร็กซ์ (General Tradings Guidelines)

1. การวางแผนการเทรดและเทรดตามแผนของคุณ(Plan your trade And Trade your plan)

    ในการเทรด ไม่ควรตัดสินตามอารมณ์ ความรู้สึกของคุณ ว่าราคาน่าจะขึ้น ราคาน่าจะลง แล้วเปิดคำสั่งเทรด คุณจำเป็นจะต้องมีการวางแผนในการเทรดเพื่อนำไปสู่ึความประสบความสำเร็จ แผนการเทรดที่ดี ควรประกอบด้วย 1. การกำหนด จุดเข้า หรือ สัญญาณในการเข้าเทรด 2 . การกำหนดจุด ขาดทุน ( Stop Loss) 3. การกำหนดเป้าหมายกำไร ( Target) 4. การวางแผนทางการเงิน ( Money Management) 5. การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management) การจัดสรรค์การเรดให้เหมาะสม แผนการเทรดที่ดีจะช่วยให้คุณตัดอารมณ์ ออกจากการเทรด ช่วยให้คุณไม่ต้องมานั่งเครียด เวลาที่ติดลบ หรือ ไกล้จะ Call Margin ( เงินใกล้จะหมด)  ไม่ต้องถูกบังคับปิด เช่น มาจิ้นของคุณหมด ตัวอย่างแผนการเทรดหรือระบบเทรด คุณสามารถ หาได้จากเ็ว็บนี้ หรือ จาก google ลองหาแผนการเทรดที่เหมาะกับตัวของคุณ ลองทดสอบระบบ และเทรดตามระบบด้วยเงินปลอม อาจจะปรับปรุงให้เหมาะสมกับตัวของคุณ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับการเทรดของคุณ ซึ่งไม่มีระบบไหนที่ได้ผลการเทรดของคุณออกมา 100% ระบบเทรดที่ดี ควรมีประสิทธิ์ภาพมากกว่า 60 % ไม่ว่าคุณจะได้ระบบเทพ หรือ สุดยอดเทพ ยังไง คุณก็ต้องติดลบก่อน ไม่มีใครไม่เคย ติดลบ

2. แนวโน้มของกราฟ คือเพื่อนของคุณ ( The Trend is Your Friend )

  อย่าคิดสวนเทรน  ให้หาสัญญาณ  Buy/ Long เมื่อ ตลาดอยู่ในสภาวะขาขึ้น ( Bullish Market ตลาดแดนบวก) และหาจังหวะ Sell/Short เมื่อตลาดอยู่ในสภาวะขาลง ( ฺำBearish Market ตลาดแดนลบ)

3. การรักษาเงินลงทุน ( Focus on capital preservation)

    สิงสำคัญอีกอย่างสำหรับการเทรด ต้องรักษาเงินในบัญชีของคุณให้ดีที่สุด การเปิดคำสั่งเทรดแค่ละคำสั่ง ไม่ควรจะเกิน 10 % ของเงินในบัญชีเทรดของคุณ เช่น เงินทุน 1000 $ คุณควจจะเทรดไม่เกิน 100$ ถ้าไม่มีการรักษาเงินทุนไว้ เงินทุนจะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเทรดมาก ได้มาก ก็เสียมาก เช่นกัน เมื่อเงินหมด คุณอาจจะท้อ หรือเลิกไปเลย เพราะฉะนั้น ควรจะเล่นน้อยๆ เรื่อย ๆ แล้ว จะประสบผลสำเร็จในตลาดฟอเร็ก ฟอเ็ร็กไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย

4.ต้องรู้ว่าเมื่อไรควรจะตัดขาดทุน (Know when to cut loss)

    ถ้าราคาวิ่งตรงข้ามกับที่คุณได้เทรดไว้ หรือคาดการณ์ไว้ สิิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ ตัดเนื้อร้ายออกไป อย่าให้มันรุกราม แล้วหาโอกาสหรือจังหวะดีๆ เพื่อเข้าใหม่ การถือติดลบไว้ เป็นการเสียโอกาสในการหาจังหวะเข้าใหม่ในสัญญาณดีๆ และต้องมานั่งเครียด เพราะกลัวว่า มาจิ้น จะหมด คังคำที่พูดกันว่าเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย และ   ลบน้อยตัดยาก ลบมากตัดง่าย ถ้าเลวร้ายจริงๆ คุณอาจจะโดนคำสั่งปิด Margin Call ดังนั้นเมื่อทำการเทรดทุกครั้ง ควรหาจุด Stop Loss จุดที่คุณควรปิดทิ้ง เมื่อราคาวิ่งตรงข้าม จากทีคาดการณ์ไว้ โดนอาจจะกำหนดไว้เลย เช่น Exit stop Loss -20 จุด  -30 จุด หรือตั้งไว้ตามแนวรับแนวต้าน Support- Resistance

5. ปิดทำกำไรเมื่อได้โอกาส หรือด้วยความพอใจของเรา(take Profit when the trade is good)

    ก่อนทำการเทรด ตั้งเป้าหมายไว้ ว่าต้องการกำไรเท่าไร เมื่อได้โอกาส ก็ควรปิดทำกำไร เป้าหมาย ( Target) อาจจะกำหนดตายตัว หรือ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเรา เช่น ทำกำไร 20 จุด หรือ 30 จุด หรือกำหนด ตามแนวรับแนวต้าน ( Support and Resistance) หรือกำหนด โดย Fibonaccy  ก็ได้

6. ตัดอารมณ์ออกไป(Be Emotionless)

 สอง อารมณ์ ที่มีผลมากให้การเทรด คือ ความโลภ ( Greedy) และความกลัว(fear)  อย่าทำให่้สองสิ่งนี้ครอบงำจิตใจของคุณ เพราะมันจะทำให้คุณไม่สามารถเทรดได้ หมั่นฝึกฝนเทรดให้เป็นระบบ เทรดตามแผน หรือระบบเทรดที่คุณได้เตรียมไว้ จัดการ กับ การกำหนดจุดเข้า ( Entry Position) จุดออก ( Exit Position)  ระบบการเงินของคุณ(Money Management) เพียงแค่นี้ คุณก็จะประสบความสำเร็จกับฟอเร็กได้

7. อย่าเทรดตามคุณอื่น  ( Do not trade base on tips from other people)

   ควรเทรดตามระบบ ตามสัญญาณ หรือตามแผนที่วางไว้ อย่าเทรดตามคนอื่นโดยเด็ดขาด วิเคราะห์ให้ดีทุกครั้งก่อนการเทรด

8. จดบันทึกการเทรด (Keep A trade journal)

    เมื่อคุณเปิดคำสั่ง ซื้อ (Buy/Long) ให้จด เหตุผลว่าเข้าเพราะอะไร และจดความรู็้สึกตอนนั้นไว้ เมื่อเปิดคำสั่ง ขาย ( sell/Short) ก็ทำเช่นเดียวกัน แล้วนำมาวิเคราะห์ บันทึก ข้อผิดพลาด ในการเทรด ขำข้อผิดพลาดของคุณที่เกิดขึ้น นำมาเป็นบทเรียน แล้วอย่าทำตามนั้นอีก

9.เมื่อไม่แน่ใจไม่ต้องเทรด( When in doubt, stay out)

    เมื่อคุณไม่มั่นใจหรือกำลังสับสน กับสภาวะของตลาดไม่แน่ใจว่าราคาจะวิ่งไปทางไหน ให้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องเทรด ออกไปเดินเล่นหาอย่างอื่นทำ แล้วก็รอตลาดในช่วงต่อไป คุณค่อยมาหาจังหวะการเทรดใหม่

10. อย่าเทรดมากเกินไป ( DO Not Over Trade)

    ไม่ควรเปิดเทรดมากเกินไป  ในการเทรดแต่ละครั้งควรมีออเดอร์ที่เปิดทิ้งไว้ ไม่เกิน 3 ออเดอร์ ถ้ามีมากเกินไป คุณอาจจะควบคุมไม่ได้ หรือาจจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจเมื่อตลาดเกิดการเปลี่ยนแปลง  ดังนั้นอย่าเปิดเทรดจนมากเกินไป

บัญญัติ  10 ประการ อยากรวยต้องรู้

1. " ความรู้ทางการเงิน  สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า ความรู้ทางการงาน " เพราะในชิวิตของคนเราทุกคนนั้น จะมีช่วงที่สามารถหา รายได้จากการทำงาน (  you at work ) จำกัด และจะต้องมีชีวิตหลังเกษียณค่อนข้างยาวนาน จึงต้อง รู้วิะีที่จะ  "ใช้เงินให้ทำงาน" ( Money at Work)
2. การออมเป็น " เกมแห่งระยะเวลา " ( Game Of Time ) ใครเริ่มต้นก่อน ก็รวยก่อน เพราะยิ่ง ทิ้งไว้นาน ยิ่งได้เป็นกอบเป็นกำ ถือเป็น " เงื่อนไขจำเป็น" ของทุกคนที่มีเป้าหมายต้องการบรรลุสู่อิสรภาพทางการเงิน
3.การลงทุนเป็น " เกมแห่งจังหวะเวลา" ( Game Of Timing) ต้องรู้จังหวะในการเข้าออกตลาดที่เหมาะสม ซื้อเมื่อต่ำ ขายเมื่อสูง หยุดเมื่อสงสัย เพราะถ้าหากเข้าผิดจังหวะ ยิ่งทิ้งไว้นาน จะยิ่งเสียหายมาก และทำให้โอกาสที่จะได้ทุนคืนนั้นยากขั้นเรื่อยๆ ( Losses are harder to regain)
4. การตัดสินใจเกี่ยวกับจังหวะการลงทุนไม่ใช่การตัดสินใจซื้อสินค้าสำเร็จรูป (Product) แบบที่ตัดสินใจตอนซื้อครั้งเดียวจบ ถ้าไม่ได้ผล หรือใช้แล้วไม่พอใจ ก็ทิ้งมันไว้เฉยๆ จริงๆแล้วการลงทุนเปนกระบวนการ ( Process) ที่ต้องมีการเอาใจใส่ ติดตามผล และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลา
5.หนทางนำไปสู่ ความสำเร็จไม่ได้เพียงเส้นทางเดียว จุดสำคัญในการบริหารการลงทุนนั้นไมไ่ด้อยู่ที่รุปแบบ วิธีการหรือ style ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเพียงเกมส์ภายนอก" Outer Game" แต่เป็นเรื่องทัศนคติ วิธีคิด พลังใจ ซึ่งเป็น "เกมภายใน" ( Inner Game)
6.ลำพังแค่การ " เอาชนะดัชนี" ( Beat the Index) ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ ก็ไม่มีใคร "เอาชนะตลาด" ( Beat The Market)  ได้ เคล็ดไม่ลับในการยืนหยัดอยู่ในเกมส์การลงทุนอย่างตลอดรอดฝั่งในฐานะ " ผู้ชนะ" นั้น อยู่ที่การยืยอยู่ข้างเดียวกับตลาดไม่ใช่ ฝืนตลาด
7.ความ สำเร็จในการลงทุนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน จริงๆแลว มันอาจเปรียบได้กับการวิ่งระยะไกล ( Marathon) ไม่ใช่การวิ่งแข่ง 100 เมตร( Sprint) ดังนั้น คุณต้อง " รู้จักตัวเอง "( Know yourself) ว่าอะไรคือ style การลงทุนที่เหมาะสมที่เข้ากันได้กับความสามารถในการรับความเสี่ยง ( Risk Attitude) และทักษะในการลงทุน ( Risk Aptitude) เพราะนั้นคือ "ระบบ" ที่คุณต้องใช้ในเพื่อ "ทำธุระกิจ" นี้ในระยะยาว
8. ในการใช้เงินต่อเงินนั้น คุณต้อง " รู้จักเครื่องมือ " ( Know the vehicle) ว่ามีลักษณะ และรุปแบบการให้ผลตอลแทนอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดอะไรบ้าง
9. นอกจากนี้ คุณต้อง " รู้จักตลาด " ( Know the Market) คือ  รู้ว่าตลาด การเงินมีธรรมชาติอย่างไร อะไรคือสาเหตุเบื้องหลังที่ทำให้เกิด การกระเพิ่อมขึ้นลงของตลาด และรู้วิธีการในการบริการความเสี่ยงในการลงทุนว่าต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้อย่างไร
10. อย่าติดอยู่กับดักของ " การบริโภคข้อมูลเกินขนาด" ( Information overload) ซึ่งมั่วแ่ต่สนใจหาข้อมูล ศึกษาวิเคราะหฺ จนไม่กล้าลงมือ ปฏิบัติ( Analysis paralysis)  เพราะมีความเชื่ออย่างผิดๆ แบบพวกมองโลกแบบสมบูรณ์ ( Perfectionish) ว่าถ้ามีข้อมูลที่สมบูรณ์จะไม่เกิดความผิดพลาด ( Zero-Defect-Mentality) จริงๆแล้ว หัวใจสำคัญของการบริหารการลงทุนนั้นอยู่ที่การ " จำกัดความเสี่ยง" ( Risk Limitation) ไม่ใช่ " กำจัดความเสี่ยง"( Risk Elimination) ถ้าถามว่ากฏที่สำสำคัญทีสุดที่สรุปได้จากการปฏิบัติ ( Rule Of Thumb) ของผู้เขียนหนังสือชุด " อยากรวย ต้องรู้" คืออะไร ก็อยากตอบว่า Rule Of  "ทำ" นั่นคือ "รู้แล้วต้องทำ" เพราะในภาษาอังกฤษ คำว่า "โชคลาภ " ( Luck) เป็นตัวย่อของ Laboring Under Correct Knowledge
 แปลว่า "ลงมือทำ ด้วยความพากเพียร โดยอาศัยความรู้ที่ถุกต้อง " นันเอง

กฏ  10 ข้อในการอยู่รอดและการลงทุนด้วยการวิเคราะห์ ทางเทคนิค


กฏทั้ง 10 ข้อนี้ เป็นหลักการสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้วิธการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับการลงทุน เพราะหากไม่มีหลักการดังกล่าวแล้ว เราก็จะไม่สามารถกำหนดการซื้อขายที่เป้นรุปแบบได้ ซึ่งให้กฏเหล่านี้ จะพูดถึงการวิเคราะห์แนวโน้ม หาจุดกลับตัว ติดตามเส้นค่าเฉลี่ย ( moving average) มองหาสัญญาณเตือน และอื่นๆ หาคุณสามารถเข้าใจและปฏิตามหลักการเหล่านี้ เชื่อว่าคุณก็จะสามารถเอาตัวรอดด้วยการลงทุนแบบวิเคราะหฺทางเทคนิคได้แน่นอน

1. ดูแนวโน้ม ( Trend )
เรียน รู้ Chart กราฟ ในระยะยาว โดยเริ่มจาก กราฟ ในระดับเดือน Monthly และ สัปดาห์ ( weekly) ของช่วงเวลา ( Time Frame) หลายๆปี การดูกราฟช่วงเวลาที่กว้างขึ้นจะสามารถทำให้มองเห็นแนวโน้มของตลาดในระยะยาว ได้อย่างแม่นตรงกว่าการมองกราฟในระยะสั้น เมื่อทราบถึงแนวโน้มระยะยาวแล้ว ก็ต้องกลับดูกราฟระยะสั้น ระดับวัน Daily ระดับ ชั่วโมง Hourly การดูแนวโน้มในระยะสั้นเพียงอย่างเดียวจะทำให้เิืกิดข้อผิดพลาดได้  ถึงแม้ว่าคุณจะลงทุนในระยะสั้นคุณจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหากคุณลงทุนในทิศ ทางเดียวกับแนวโน้มในระยะกลางและระยะยาว ( Middle Term and Long Term )

2. วิเคราะห์และไปตามแนวโน้ม ( Analysis and follow trend)
แนว โน้มของตลาดมีหลายช่วงเวลา ระยะยาว(Long Term) ระะกลาง(Middle Term) และระยะสั้น(Short Term) สิ่งแรก คือ คุณต้องรู้ว่าคุณลงทุนเป็นระยะเวลาเท่าใด และวิเคราะห์ กราฟของช่วงเวลาที่เหมาะสมโดยที่คุณไม่แน่ใจว่าคุณลงทุนไปในทิศทางเดียวกับ แนวโน้มในระยะเวลานั้นๆ ซื้อเมื่อแนวโน้มอยู่ในช่วงขาขั้น ( Up trend) และขายเมื่อแนวโน้มอยู่ในขาลง ( Down Trend) หากคุณลงทุนในระยะกลาง ให้ใช้กราฟในระดับวันและัสัปดาห์ ถ้าคุณลงทุนในระยะสั้น ให้ใช้กราฟระดับวันและชัวโมง อย่างไรก็ตามในแต่ละกรณี ให้ดูแนวโน้มของช่วงเวลาที่ยาวขึ้น และใช้กราฟของช่วงเวลาที่สั้นลงในการหาจุดที่จะเข้าซื้อ-ขาย

3.การหาจุดสูงสุดและต่ำสุด
วิเคราะห์ แนวรับแนวต้าน จุดที่ดีที่สุดในการเข้าซื้อBuy/Long ก็คือจุด ที่ไกล้แนวรับมักจะเป็นจุดต่ำสุดของรอบการซื้อขายที่แล้ว จุดที่ดีที่สุดสำหรับการขายSell/Short ก็คือ จุดที่ใกล้แนวต้าน ซึ่งมักจะเป็นจุดสงสุดของกรอบราคาการซื้อขายที่แล้ว หากมีการเคลื่อนที่แนวต้าน แนวต้านก็กลายเป็นแนวรับสำหรับการปรับตัวลดลงอีกนัยนึง จุดสูงสุดเดิมกลายเป็นจุดสูงสุดใหม่และเ่ช่นเดียวกัน ในกรณีที่ราคาทะลุผ่านแนวรับ มักจะมีแรงขายออกมาอย่างต่อเนื่องทำให้จุดต่ำสุดเดิมกลายเป็นจุดต่ำสุดใหม่

4.รู้ว่าจะไปไกลแค่ไหน จึงจะกลับตัว
เทียบอัตราส่วนการขึ้นลงเป็นเปอร์เซนต์ โดยทั่วไปตลาดจะ มีการกลีบตัวทั้งขึ้นและลงตามสัดส่วนเปอร์เซนของแนวโน้ม ของช่วงเวลาก่อน คุณสามารถวัดอัตราส่วนของการปรับตัวขึ้นลงของแนวโน้มปัจจุบันโดยใช้ อัตรส่วนชุดหนึ่งที่มีการกำหนดค่าไว้แล้ว เช่น การกลับตัวขั้นหรือลง 50%ของแนวโฯ้มก่อน เป็นอัตราพื้นฐานที่ใช้กันบ่อย อัตราส่วนต่ำสุดของการวัดการดีดกลับ คือ 1/3 ของแนวโน้มก่อนหน้านั้น และอัตราส่วนสูงสุดคือ 2/3 อัตราส่วนที่สำคัญและควรให้ความสนใจคือ อัตราส่วนของFibonacci  38.2% 61.8 % ดังนั้นเมื่อตลาดมีการพัดตัวในแนวโน้มขาขึ้นจะมีจุดซื้อคืนจุดแรก เมื่อตลาดปรับตัวลง 33-38% ของจุดสูงสุด

5.ใช้เส้นแนวโน้ม TrendLine
เส้น แนวโน้ม TL เป็นหนึ่งในเครื่องมือการวิเคราะห์ที่่ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงสุด สิ่งที่ต้องคำนึงมีเพียงของเขตที่เส้นแนวโน้มแสดงและจุด 2 ตำแหน่งบนกราฟ เส้นแนวโน้มขาขึ้นวาดโดยใช้จุดต่ำสุด / 06f ที่อยู่ไกล้กัน และเส้นแนวโน้มขาขึ้นวาดโดยใช้จุดสูงสุด 2 จุดที่อยู่ไกล้กัน ราคามักจะเคลื่อนที่เข้าใกล้เส้นแนวโน้มก่อนที่จะเคลื่อนที่กลับเข้าสู่แนว โน้มของมัน หาราคาทะลุผ่านเส้นแนวโน้ม จะแสดงถึงสัญญาณของการเปลีี่ยนแปลงแนวโน้ม เส้นแนวโน้มจะมีผลเมื่อราคาเคลื่อนที่แตะที่เส้น สาม ครั้ง เป็นอย่างน้อย เส้นแนวโน้มที่ลากได้ยิ่งยาว หมายถึง จำนวนครั้งมากขึ้นของการทดสอบเส้นแนวโน้มและยิ่งทำให้เส้นแนวโน้มมีความ สำคัญมากขึ้น

6.ติดตามเส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average)
หมายถึงการ เคลื่อนที่ของเส้นค่าเฉลี่ย( Moving Average) ซึ่งจะบอกถึงราาเป้าหมายที่จะซื้อและขาย เ้ส้นค่าเฉลี่ยนี้จะแสดงให้เห็นว่าราคาอยู่ในแนวโน้มเช่นใด และช่วยยืนยันสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม อย่างไรก็ตามเส้่นค้่าเฉลี่ยไม่ใช่เครื่องมือที่จะบอกล่วงหน้าว่าแนวโน้มกำ ลังจะเปลียน รุปแบบของการใช้เส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นที่นิยมคือการใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2  เส้น เพื่อหาจุดซื้อ-ขาย ค่าที่นิยมใช้สำหรับเส้นค่าเฉลี่ยที่ใช้คู่กัน คือ period 5 , 10  , 20 , 34, 50 , 89 , 100 , 200 โดยทั่วไปแล้วจะจับคู่กันระหว่างเส้นแนวโน้มระยะสั้น และระยาว เส้นแนวโน้มระยะสั้นจะมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 50 และ เส้นแนวโน้มระยะยาวจะมากกว่า Period 50 สัญญาณการชื้อ ขาย เกิดขึ้นเมื่อ แนวโน้มระยะสั้นตัดกับแนวโน้มระยะยาว เช่น เส้นแนวโน้ม Period 5 ตัดกับ 50 เมื่อตัดกันแล้ว คุณก็ ซื้อ ด้วยเหตนี้ เส้นแนวโน้มค่าเฉลี่ยจึงเหมาะกับตลาดที่อยู่ในช่วงที่มีแนวโน้มที่ชัดเจน หรือตลาด มีเทรน

7. รุ้ถึงจุดที่ตลาดกลับตัว
Oscillators เป็นเครื่องมือที่ช่วงของขอบเขตอยู่ในช่วง 0 ถึง 100 เป็น เครื่องมือที่วัดการแกว่งของตลาด เหมาะ สำหรับตลาด ที่มีเทรนไม่แน่นอน เป็นดัชนีที่ช่วยบ่งชี้จุดที่มีการซื้อหรือขายมากเกินไป ในขณะีี่ที่เส้นค่าเฉลี่ยจะช่วยยืนยันว่าตลาดมีการเปลี่ยนแนวโน้ม Oscillators จะช่วยเตือนล่วงหน้าว่าตลาดเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดทางหนึ่งมากเกินไป และทำให้เกิดจุดกลับตัว Oscillator ที่เป็นที่นิยมได้แก่ Relative Strength Index (RSI) และ Stochastic ทั้งสองตัวนี้จัดเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า Oscillator เพราะให้ค่าที่อยู่ในช่วง 0 ถึง 100 เมื่อ RSI มีค่าเกิน70 จะแดงว่ามีการซื้อที่มีมากเกินไป ( Overbought)และต่ำกว่า 30 แสดงว่ามีการขายมากเกินไป ( Oversold) ค่า OB และ OS สำหรับ Stochastic คือ80 และ 20 นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้ค่า 14 และ 9 สำหรับRSI และ Stochastic ใช้ค่า( 8 3 3    )  ( 14 3 3 ) ( 17 4 8 ) และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความพึ่งพอใจของแต่ละบุคคล  สัญญาณการกลับตัวที่เกิดขึ้นใน Oscillator จะเป็นสัญญาณเตือนว่าตลาดกำลังจะกลับตัว เครื่องมือเหล่านี้ใช้ได้ดีเมื่อตลาดอยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับการเล่นเกร็ง กำไร และไม่แสดงแนวโน้มที่ชัดเจน สัญญาณในระดับสัปดาห์สามารถนำมาช่วยในการขจัดสัญญาณหลอกและยืนยันสัญญาณ ในระดับวัน และใช้สัญญาณในระดับวัน สำหรับยืนยันสัญญาณในรายชั่วโมง

8.มองเห็นสัญญาณเตือน
Moving Average Convergence Divergence (MACD) เป็นดัชนีวัด(พัฒนาโดย Gerald Appel) ที่รวมเอาระบบการตัดผ่านของเส้นค่าเฉลี่ยและการชี้จุด Overbought/Oversold ของ oscillator ไว้ด้วยกัน สัญญาณที่จะซื้อจะเกิดเมื่อเส้นที่เร็วกว่าตัดขึ้นเหนือเส้นที่ช้ากว่าา โดยทั้งสองเส้นอยู่ต่ำกว่า 0 Zero line สัญญาณขายเกิดขึ้นเมื่อเส้นที่เร็วกว่าตัดลงต่ำกว่าเส้นที่ช้ากว่าเหนือ 0 Zero Line สัญญาณในระดับสัปดาห์ จะมีน้ำหนักและความสำคัญมากกว่าสัญญาณในระดับวัน MACD Histogram ซึ่งมาลักษณะเป็นแท่ง แสดงถึงส่วนต่างระหว่างMACD สองเ้ส้น สามารถส่งสัญญาณว่าจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มได้เร็วกว่าอีกด้วย

9. เป็นแนวโน้มหรือไม่เป็นแนวโน้ม
Average Direction Index( ADX)  เป็นดัชนี ที่จะบอกว่าตลาดอยู่ในช่วงที่มีแนวโน้มหรือไม่และเป็นตัวช่ยวัดว่าแนวโน้ม อยู่ในระดับใด เส้น ADX ที่ชี้ขึ้นแสดงถึงแนวโน้มที่มีความชัดเจนมาก คงรใช้เส้นค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ หากเส้น ADX ปรับตัวต่ำลง แสดงถึงตลาดที่ไม่มีแนวโน้มและเหมาะสำหรับเกร็งกำไรระยะสั้นคงรใช้ Oscillator ในการวิเคราะห์ การใช้ ADX ช่วยนักลงทุนในการวางแผนกลยุทธ์การลงทุนและในการเลือกใข้เครื่องมือที่เหมาะ สมกับสภาวะตลาด

10. รู้จักการดูสัญญาณเพื่อยนยันแนวโน้ม
สัญญาณที่ให้ การยืนยันรวมถึงปริมาณการซื้อขายและจำนวนการซื้อขายที่มีการลงทุนจากผู้ที่ เข้ามาซื้อขายใหม่(Open Interest) ทั้ง สอง ตัวนี้ เป็นเครื่องมือสำคัญในการยืนยันแนวโน้มสำหรับตลาดล่างหน้า ปริมาณการซื้อขายมักจะส่งสัญญาณกลับตัวก่อนที่ราคาจะกลับตัว สิ่งสำคัญคือต้องมั่นใจว่ามีปริมาณการซื้อขาย อย่างหนาแน่นในทิศทางเดียว กับแนวโน้มปัจจบัน ในแนวโน้มขาขั้น ควรมีปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้นเพื่อยืนยันว่าแนวโน้มนั้นยังแข็งแรงอยู่ ส่วน Open Interest ที่เพิ่มขึ้นนั้นจะช่วยยืนยันว่ามีเงินไหลเข้ามาต่อเนื่องและช่วยหนุนให้แนว โน้มปัจจุบันคงอยู่ หาก Open Interest ลดลง ย่อมเป็นสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มนัั้นใกล้สิ้นสุดลง ดังนั้น ราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นควรมีปริมาณซื้อและ Open Interest หนุนอยู่ด้วย


เครดิต thaiforexschool. ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น